top of page

02

        มาตรการในการจัดการวิกฤตการณ์            ด้านทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมโลก

 

            ในปัจจุบันวิกฤตการณ์ทางด้านทรั พยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญที่ประเทศต่างๆได้เผชิญอยู่ที่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลกและการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี วิทยาการ ที่ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจนทำให้เกิดความไม่สมดุลของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้นำไปสู่การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน โดยเฉพาะในการทำสนธิสัญญาต่างๆ หรือการทำความร่วมมือและข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อนำเอามาตรการต่างๆ เหล่านี้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติต่อไปประเทศในทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ที่สำคัญ ได้แก่

        1. อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์(Convention on International Train Endangered Species of Wild Fauna an Flora 1973หรือ CITES)
อนุสัญญานี้มีวัตถุประสงค์อนุรักษ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ให้ความสำคัญ
กับการใช้ ประโยชน์ ของสัตว์ ป่าและพันธุ์ พืชอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์หรือถูกคุกคาม ตลอดจนผลิตภัณฑ์ของสัตว์ป่าและพืชป่า มีการสร้างกลไกที่มีเครือข่ายทั่วโลกเพื่อควบคุมการค้าระหว่างประเทศ และสร้างระบบการออกใบอนุญาตในการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือส่งกลับออกไป เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์ โดยมีมาตรการควบคุมและออกกฎหมายภายในแต่ละประเทศเพื่อรองรับหลักการของอนุสัญญา กำหนดกลุ่มของชนิดพืชพันธุ์และสัตว์ตามสถานภาพการอยู่รอด ซึ่ง
ประเทศที่ฝ่าฝืนข้อบังคับของอนุสัญญาฯ อาจได้รับผลกระทบในรูปแบบการกีดกันทางการค้าจากสมาชิกของอนุสัญญาฯ ทั่วโลก

          2. อนุ สั ญญาว่ าด้ วยความหลากหลายทาง ชี วภาพ ( Conv ent i on on  Biological Diversity) (CBD) เป็นอนุสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพการใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและการแบ่งปันผลประโยชน์ ที่ ได้ จากการใช้ ทรั พยากรพันธุ กรรมอย่ างยุ ติ ธรรมและเท่า เทียมกัน หมายถึง การใช้ประโยชน์โดยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมโดยคำนึงถึงสิทธิเหนือทรัพยากรและเทคโนโลยีและการให้การสนับสนุนด้านการเงิน เป็นอนุสัญญาที่เสนอกลไกในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศและระหว่างประเทศ

          3. อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำหรืออนุสัญญาแรมซาร์ (Convention on Wetlands of International Importance especially as Waterfawl Habitat) ได้ถูกกำหนดขึ้นจากการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาที่เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 โดยเริ่มจากการเห็นความสำคัญของนกน้ำจากนานาประเทศ จึงพิจารณาถึงความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่
ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด ที่กระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ ซึ่งประเทศสมาชิกต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในอนุสัญญาฯ

        4. อนุ สั ญญา ว่ า ด้ วยกา รคุ้ มครอง มรดกทา ง วั ฒนธรรม และธรรมชา ติ ของ โ ลก (Convention Concerning the Protection of the World Cultural and Natural Heritage 1972) เป็นอนุสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศต่างๆ และประชาชนในการปกป้องมรดกโลกอย่างมีประสิทธิภาพ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการมรดกโลก (The World Heritage Committee) เพื่อดูแลแหล่งวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีความสำคัญระดับโลก โดยมีหน้าที่คัดเลือกโบราณสถาน หรือแหล่งโบราณคดี หรือแหล่งธรรมชาติที่ทรงคุณค่าจะได้เป็นมรดก
โลก และบริหารจัดการกองทุนมรดกโลก (World Heritage Fund) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการสนับสนุนการอนุรักษ์แหล่งวัฒนธรรมและแหล่งธรรมชาติที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว

       5. แผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม 21 (Agenda 21) เป็นความร่วมมือและรับผิดชอบร่วมกันในระดับโลก (Global Partnership) ที่เป็นการตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ ในการแก้ไขปัญหาความเ สื่ อมโ ทรมของทรั พยากรธรรมชาติ และสิ่ งแวดล้ อมของโ ลกให้ เ กิ ดความยั่งยืนองค์ การสหประชาชาติภายใต้กรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาแบบยั่งยืน (Commission on Sustainable Devel opment) จึงเสนอแผนปฏิบัติการ 21 : ให้เป็นแผนปฏิบัติการเพื่ อการพัฒนาแบบยั่งยืน                                  (Agenda 21: Programme of Action for Sustainable Development) ต่อที่ประชุมว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Earth Summit) ที่กรุงรีอูดีจาเนรู ประเทศบราซิล เมื่อเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนำไปปรับใช้ตามลำดับก่อนหลังเพื่อให้บรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยต้องการให้มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินไปด้วยกัน เพื่อให้การพัฒนาแต่ละด้านเป็นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และเกิดความสมดุลกัน เพื่อคนทั้งรุ่นปัจจุบันและอนาคตมีทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างพอเพียงที่จะต้องสนองต่อความต้องการต่างๆ ในการดำรงชีวิตเพื่อความกินดีอยู่ดี

bottom of page