top of page

วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อมของประเทศไทย

วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย

               

                ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและนับวันวิกฤตการณ์ต่างๆ ก็ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบทั้งโดยอ้อมต่อประชากร รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

                1.วิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดินและทรัพยากรดิน

                จากความจำกัดของที่ดิน การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดิน การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน และการจัดระเบียบการใช้ที่ดินที่ไม่ถูกต้องของผู้ครองที่ดินสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นวิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดิน และจะเป็นปัญหาของประเทศมากยิ่งขึ้นหากไม่มีมาตรการแก้ไขที่ถูกต้องเหมาะสม โดยวิกฤตการณ์เกี่ยวกับที่ดินของประเทศไทย มีดังนี้

                                1.1 ความจำกัดของจำนวนที่ดิน  ประเทศไทยมีพื้นที่อยู่ประมาณ 320 ล้านไร่ โดยเป็นทั้งพื้นที่ที่ใช้เป็นที่อาศัย เป็นพื้นที่ทำการเกษตรและอุตสาหกรรม เป็นพื้นที่ป่าและที่ดินร้างว่างเปล่า ในขณะที่จำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น การพัฒนาประเทศทำให้ชุมชนเมืองขยายตัวเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การขยายของกรุงเทพ ทำให้บริเวณพื้นที่ฝั่งธนบุรีที่เคยเป็นสวนผลไม้และนาข้าวหมดไป เป็นต้น และในส่วนของการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีการเร่งเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรเช่น ข้าว ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น ทำให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่า โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหลือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน พื้นที่ไม้บริเวณเหล่านั้นกลายพื้นที่เกษตรกรรม ความต้องการที่ดินทั้งใช้ เป็นต้น ที่อยู่อาศัย ชุมชน และใช้เพื่อการเพาะปลูกจึงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ที่ดินหรือพื้นที่ของประเทศไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้

 

                                1.2 การเปลี่ยนสภาพการใช้ที่ดิน ปริมาณพื้นที่ทางการเกษตรของประเทศที่เพิ่มมากขึ้นโดยการเปลี่ยนสภาพที่ดินที่เป็นป่าไม้  จึงเป็นไปได้ว่าพื้นที่ทำการเกษตรที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นบุกรุกเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้ ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ป่าไม้ในภาคเหนือ เช่น จังหวัดเชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน เป็นต้น ล้วนนำมาเป็นพื้นที่ทำสวน ทำไร่ และทำนาเป็นส่วนมาก ในส่วนของที่ดินที่ใช้เป็นชุมชน การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินดังกล่าวทำให้พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ว่างเปล่าลดลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิกฤตการณ์โลกร้อนที่อยู่ในปัจจุบัน

                                1.3 การพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและสาธารณูปโภค การพัฒนาอุตสาหกรรมนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของโรงงานจากในเมืองไปอยู่เมืองนอก เช่น จากในกรุงเพทมหานครไปอยู่บริเวณรังสิต บริเวณจังหวัดปทุมธานี และอำเภอบางปะอิน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยารวมทั้งการไปจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นบริเวณแหลงฉบัง จังหวัดชลบุรี และบริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ล้วนเป็นการเข้าไปบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมที่มีอยู่ก่อน เมื่อมีการขยายตัวของการใช้พื้นที่อุตสาหกรรมออกไป ชุมชนก็ขยายตามไปด้วย คือ เป็นบ้านจักสรรร้านค้าสถานบริการรวมทั้งสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า การสื่อสารและสถานที่ราชการต่างก็ต้องขยายตามไปด้วย การพัฒนาดังกล่าวล้วนทำให้ที่ดินที่มีอยู่อย่างจำกัดยิ่งขาดแคลนยิ่งขึ้นหรือไม่ก็เกิดการบุกรุกไปใช้พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ว่างเปล่าต่อไปอีก

                                1.4 การขาดกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดิน ผู้ที่ถือครองที่ดินที่เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมายนั้นมีเป็นส่วนน้อย ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมักเป็นผู้เช่าที่ดินทำกิน หรือไม่ก็เข้าไปใช้ประโยชน์จากที่ดินโดยรัฐยังไม่สามารถมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้ไม่สามารถพัฒนาที่ดินที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ หรือไม่ก็ขาดความรู้ความเข้าใจในการครอบครองที่ดิน จนเกิดการฟ้องร้องให้ออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีกรณีการออกโฉนดที่ดินมนที่สาธารณะ ซึ่งมีตัวอย่างที่จังหวัดลำพูนจำนวนหลายพันไร่ กรณีดังกล่าวก่อให้เกิดความขัดแย่งและการร้องเรียงของชาวบ้านเกิดขึ้นในหลายพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือตอนบน

                                1.5 ปัญหาการถือครองที่ดิน การบุกรุกที่ดินของรัฐทั้งที่เป็นพื้นที่ป่าไม้และที่สาธารณะประโยชน์ ประชาชนเข้าไปอยู่อาศัยและประกอบอาชีพโดยขาดสิทธิในการครอบครองที่ดินตามกฎหมาย หรือการที่ประชาชนเข้าไปครอบครองอย่างถูกต้องแต่รัฐประกาศให้เป็นที่ดินของรัฐในภายหลัง ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในภายหลัง ทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนเกิดความขัดแย้งกัน และนอกจากนี้ที่ดินที่เป็นที่อยู่อาศัยมันไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้อง เมื่อระยะเวลาผ่านมานาน ทำให้ไม่สามารถระบุสิทธิ์ของผู้ถือครองได้อย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเองนอกจากนั้นในการจัดรังวัดตรวจสอบที่ดินตามเอกสารดั้งเดิมมักจะปรากฏพื้นที่ดินทับซ้อนกันซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งได้เช่นกัน

                                1.6 การเกิดภัยธรรมชาติ  ภัยธรรมชาติที่มักเกิดขึ้นในประเทศไทยและก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่สำคัญ เกิดน้ำท่วมสร้างความเสยหายทุกปี นอกจากนี้พายุฤดูร้อนก็มักจะเกิดในช่วงเดือนเมษายน ที่อากาศร้อนจัด จนเป็นภัยต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก

1.7แผ่นดินทรุดตัว บริเวณพื้นที่ที่มีการใช้นำบาดาลมาก เช่น พื้นที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี ได้มีการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อย่างต่อเนื่องมากว่า 30 ปีโดย เฉพาะพื้นที่บริเวณย่านรามคำแหง บางนา และในจังหวัดสมุทรปราการ แผ่นดินได้ทรุดตัวลงแล้วกว่า 1 เมตร และยังทรุดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ภาครัฐต้องกำหนดมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ และให้ใช้น้ำผิวดิน (น้ำในแม่น้ำ) มาทำประปาให้บริการเพิ่มมากขึ้น

พื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดการทรุดตัวหรือดินถล่มระดับสูงมีอยู่ทั่วภูมิภาคและหลายหมู่บ้าน เช่น จังหวัดเพชรบูรณ์ที่อำเภอเมือง อำเภอชนแดน และอำเภอบึงสามพัน จังหวัดเชียงรายที่อำเภอเมือง อำเภอแม่จัน และอำเภออื่นๆ จังหวัดน่านที่อำเภอปัว อำเภอท่าวังผาอำเภอเมือง และอำเภออื่นๆ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดอุดรธานี ที่อำเภอนายูง และอำเภอน้ำโสม จังหวัดนราธิวาส ที่อำเภอสุคิริน อำเภอศรีสาคร อำเภอสุไหงปาดี และอำเภออื่นๆ

                                1.8 ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ หมายถึงดินที่มีธาตุอาหารสำหรับพืชต่ำ หรือมีธาตุอาหารแต่พืชไม่สามารถนำสารอาหารไปใช้ได้ทั้งนี้อาจจะเกิดการยึดตัวแน่น การเกิดสภาวะกรดจัด เค็มจัด การถูกชะล้างการใช้ที่ดินโดยขาดการบำรุงรักษา และการปลูกพืชผักซ้ำซาก

ดินเปรี้ยวเป็นดินที่มีค่า pH ต่ำมาก ทำให้ธาตุอาหารพืชไม่สามารถละลายออกมาใช้ประโยชน์ได้ ประโยชน์ได้ ประเทศไทยมีดินเปรี้ยวประมาณ 9.4 ล้านไร่ อยู่ในภาคกลางประมาณ 5.6 ล้านไร่ เช่นบริเวณจังหวัดปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี และเป็นบริเวณพื้นที่ฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้และฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้อีกประมาณ 3.8 ล้านไร่                                                                                                                                                ดินเค็มเป็นดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้มากเกินไป บริเวณพื้นที่ดินเค็มส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 4.3 ล้านไร่ เช่น จังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม เป็นต้น ส่วนดินเค็มบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้และภาคตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 3.7 ล้านไร่                                                                                           ดินเสื่อมโทรม เป็นดินที่ต้องมีการจัดการปรับปรุงเป็นพิเศษจึงจะใช้เพาะปลูกได้ เช่นดินทรายมีพื้นที่ประมาณ 6 ล้านไร่ อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  3 ล้านไร่ นอกนั้นกระจายอยู่ในภาคต่างๆ ดินทรายดานมีพื้นที่ประมาณ 6 แสนไร่ พบมากในภาคใต้และภาคตะวันตก                                                                                                           ดินลูกรังและดินตื้นมีอยู่ประมาณ 52 ล้านไร่ เป็นดินที่ไม่อุ้มน้ำและขาดอุดมสมบูรณ์ และดินเมืองร้างเป็นดินที่ในบริเวณที่ทำเหมือนมาก่อน พบมากในภาคใต้ เช่นจังหวัดพังงา ภูเก็ต ระนอง และสงขลา ภาคตะวันออกพบทั่งหวัดจันทบุรีและตราด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                2. วิกฤตการณ์ทรัพยากรน้ำ

                วิกฤตการณ์ทรัพยากรน้ำ เกิดจากสาเหตุหลักๆ ดังนี้

                                2.1 การขาดแคลนน้ำ การเพิ่มจำนวนประชากร การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมถึงการเพิ่มปริมาณการใช้น้ำของครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะในฤดูแล้งพบว่า เกิดการขาดแคลนน้ำที่จะใช้ทำน้ำประปาในหลายพื้นที่ รวมทั้งขาดแคลนน้ำในการใช้เพาะปลูกและอุตสาหกรรมด้วยเช่น ในจังหวัดชลบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ปราจีนบุรี เป็นต้น

                                2.2 น้ำเสียและสารพิษในน้ำ การทิ้งน้ำเสียจากบ้านเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ รวมถึงไม่สามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคหรือใช้ในการเกษตรได้ เช่นน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และลำคลองต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

                                2.3 น้ำท่วม เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยเป็นประจำทุกปี โดนเฉพาะ.ในช่วงฤดูฝนที่ได้รับอิทธิพลจากพายุต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรบ้าเรือน และทรัพย์สินเสียหาย ในบริเวณและพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ได้แก่ จังหวัดน่าน แพร่ สุโขทัย และพิจิตร นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา คือ จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ ที่เกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ

                                2.4 น้ำทะเลหนุน ในช่วงฤดูร้อนของทุกปีเป็นเวลาที่ปริมาณน้ำจากแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทยน้อยลง ทำให้ทะเลหนุนเข้ามาในลำน้ำสายหลัก เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน เป็นต้น การที่น้ำทะเลหนุนมาสูง หมายถึง น้ำเค็มจะเข้ามาปะปนกับน้ำจืด ทำให้สัตว์น้ำจืดตายสวนผลไม้และบ้านเรือนเสียหาย รวมถึงประชาชนไม่สามารถใช้น้ำได้โดยเกิดขึ้นริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในจังหวัดสมุทรปาการ และกรุงเทพฯ อยู่ทุกปี

                                2.5 น้ำบาดาลลงระดับ น้ำบาดาลหรือน้ำใต้ดินได้ลดระดับต่างลงในทุกปีของพื้นที่ จนกลายเป็นที่วิตกกว่าน้ำเค็มจากทะเลไหลเข้ามาแทนที่ทำไม่สามารถนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้ เช่น ในจังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี กรุงเทพมหานคร มีการขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ทำให้เกิดปัญหาแผ่นดินทรุดตามมาอีกด้วย

                                2.6 ความตื้นเขินของแหล่งน้ำ  เกิดจากตะกอน ดินทราย ที่ถูกพัดมากับกระแสน้ำ เป็นสาเหตุทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน น้ำไหลผ่านไปได้ช้า ทำให้ในช่วงฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำมากจะทำให้เกิดน้ำท่วม เช่น ลำน้ำมูล ในจังหวัดบุรีรัมย์ ลำน้ำอิง จังหวัดเชียงราย เป็นต้น นอกจากนี้วัชพืชที่อยู่ในแหล่งน้ำ เช่น ผักตบชวาจะเป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ และทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน บริเวณที่มีผักตบชวาจำนวนมากจนก่อให้เกิดปัญหา เช่น แม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม แม่น้ำปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                3. วิกฤตการณ์เกี่ยวกับแร่และพลังงาน

                แร่และพลังงานมีความจำเป็นต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ในปัจจุบันมีการใช้แร่และพลังงานมากขึ้น ซึ่งวิกฤตแระและพลังงาน มีดังนี้

                                3.1 การขาดแคลนพลังงาน แร่และพลังงานเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป คือ ไม่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ได้ใหม่กว่าจะเกิดขึ้นใหม่ต้องใช้เวลานานมาก ทำให้แร่และพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปในอนาคตอันใกล้ เช่น ถ่านหิน ถ้ามีอัตราการใช้เช่นปัจจุบัน ถ่านหินก็จะหมดไปภายในระยะเวลาไม่นานเมื่อเกิดการขาดแคลนพลังงาน ทำให้ต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเงินของประเทศ ทำให้ไทยต้องเสียดลการค้ากับต่างประเทศ และนอกจากนี้ราคาของแร่และพลังงานจะมีความผันผวนไปตามกระแสเศรษฐกิจและการเมือง ในส่วนของประชาชนก็จะได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่แพงขึ้นตามวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต

                                3.2 ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  การนำแร่และพลังงานมาใช้จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหากไม่มีระบบป้องกันที่ดี เช่น การทำเหมืองแร่ถ่านหิน ทำให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศหรือปนเปื้อนในน้ำใต้ดิน หรือการทำเหมืองตะกั่วทำให้แหล่งน้ำใกล้เคียงมีปริมาณตะกั่วสูงกว่าปกติ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง เช่น สารกำมะถันจากการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหิน ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ระคายเคืองตา เป็นต้น

นอกจากนี้วิกฤตพลังงานยังส่งผลกระทบต่อสังคม เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับประชาชน กับผู้สนับสนุนผู้คัดค้านการก่อสร้าง โดยฝ่ายหนึ่งต้องการให้ท้องถิ่นได้รับการพัฒนา ส่วนฝ่ายหนึ่งก็เกรงว่าจะเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา นอกจากนี้มีการเกิดความขัดแย่งระหว่างประชาชนกับหน่อยงานของรัฐ จนในที่สุดรัฐบาลต้องระงับโครงการก่อสร้าง  เป็นต้น

01

วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆของโลก

               

               สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆ ของโลก

               สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ได้ทำให้ประชากรกว่า 10 ล้านคนทั่วโลกต้องอพยพหนีภัยธรรมชาติ ความแห้งแล้ง และความอดยาก โดนเฉพาะประชากรที่อยู่มนประเทศเคนยาและเอธิโอเปีย ในทวีปแอฟริกา ต้องอพยพ เดินทางออกจากบ้านเกิด ประชากรประมาณ        1 ใน 4 ของประชากร หรือประชากร หรือประมาณ 1,200 ล้านคน มีสภาวะการ ดำรงชีพในระดับยากจน ขาดแคลนอาหาร ขาดแคลนอาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย และมีสุขภาพอนามัยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของโลกที่สำคัญ มีดังนี้

                1. สถานการณ์ของทรัพยากรดิน ปัจจุบันความต้องการที่จะใช้ดินภูมิภาคต่างๆ ของโลก เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ที่สำหรับเพาะปลูก และการประกอบอาชีพอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นนอกจากจะมีการบุกรุกทำลายพื้นที่ที่เป็นป่าไม้เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเพื่อการเพาะปลูกแล้ว ที่ดินที่เคยใช้เป็นที่เพาะปลูกอยู่แล้วก็ถูกใช้ในการพะปลูกบ่อยครั้งยิ่งขึ้น รวมทั้งมีกาใช้ปุ๋ยเคมี และยาฆ่าแมลง ฆ่าวัชพืช จึงส่งผลให้ดินเสื่อมคุณภาพได้เร็วยิ่งขึ้น และในปัจจุบันยังมีการใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับคุณภาพของดิน เช่น พื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสมกับการทำการเกษตรกลับนำมาสร้างที่อยู่อาศัย ส่วนพื้นที่แห้งแล้งกลับใช้ทำการเกษตร เป็นต้น

       โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติระบุว่า ทั่วโลกมีระดับปัญหาความเสื่อมโทรมของดินประมาณ 12 ล้านตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 11 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วโลก พื้นที่ดินที่เคยมีความอุดมสมบูรณ์ประมาณ 8.1 ล้านกิโลเมตร ได้กลายเป็นทะเลทราย การเกิดดินเค็มทำให้ผลผลิตในเขตประทานลดลง 1 ใน 3 และปัญหาน้ำท่วมขังผิวดินทำให้ผลผลิตลดลง 1 ใน 10 ของผลผลิตทั่วโลก ประเทศเอธิโอเปีย มีปัญหาการกร่อนของดินทำให้มีกี่สูญเสียหน้าดินประมาณปีละ 2,000 ล้านตัน ส่วนในประเทศไทยมีตะกอนดินถูกชะล้าง ลงสู่แหล่งน้ำปีละประมาณ 27 ล้านตัน

           2. สถานการณ์ทรัพยากรน้ำ ปัจจุบันขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ในครัวเรือนและเพื่อการเพาะปลูก เป็นปัญหาสำคัญของโลกเนื่องจากได้เกิดปัญหาความแห้งแล้งอยู่ทั่วไปในหลายประเทศ โดนเฉพาะประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ในหลายประเทศได้สร้างเขื่อนช่วยในการควบคุมปริมาณน้ำให้มีการกระจายในช่วงขาดแคลนน้ำได้ จ้ำจึงมีไหลสม่ำเสมอทุกเสมอภาคทุกฤดู แตะขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำ นอกจากปัญหาขาดแคลนน้ำแล้ว เมืองใหญ่ในหลายประเทศต้องประสบปัญหาน้ำเสียทั้งจากบ้านเรือน ชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรมไหลไปรวมอยู่ในแหล่งน้ำ ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนโดยทั่วไป

         สารพิษที่ปล่อยสู่บรรยากาศและการใช้สารพิษในการเกษตร ในที่สุดแล้วจะไปรวมกันในทะเลและมหาสมุทรซึ่งจะเป็นที่สะสมของสารพิษและสิ่งปฏิกูลที่ใหญ่ที่สุดในโลกเช่น ทะเลสาบในอเมริกาเหนือและสแกนดิเนเวียมีความเป็นกรดสูงจนทำให้ปลาตาย รวมทั้งบริเวณฝั่งทะเลของประเทศแถบมหาสมุทรแปซิฟิก มีการพบปลาขนาดใหญ่ว่ายเข้ามาตายตามชายฝั่งอยู่เสมอ ซึ่งสันนิษฐานว่าหนีสภาพน้ำที่เป็นพิษขึ้นมา หรือแม้แต่น้ำบาดาลใน 38 รัฐของสหรัฐอเมริกา พบว่ามีการปนเปื้อนของสารเคมี ส่วนในประเทศที่กำลังพัฒนาประชากรในชนบทร้อยละ 61 และประชากรในเมืองร้อยละ 26 ขาดแคลนน้ำดื่มที่สะอาด

           

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             3.สถานการณ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ในปัจจุบันการทำลายป่าเป็นไปอย่างกว้างขวางในทุกบริเวณของโลก และรุนแรงที่สุดในบริเวณเขตร้อน มีการคาดกันว่ามีการทำลายป่าไม้ของโลกปีละ 2.5-3 ล้านตารามกิโลเมตร ถ้าหากอัตราการทำลายป่าไม้ยังเป็นเช่นนี้ในเวลาอีกประมาณ 13-16 ปีข้างหน้า ป่าไม้ในปัจจุบันจะหมดไปจากโลกถึงแม้จะมีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นก็ไม่สามารถทำได้ทันกับปริมาณที่ถูกทำลายไป การลดลงของพื้นที่ป่าไม้ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม คือ สัตว์ป่าไม่มีที่อยู่อาศัย และขานแคลนแหล่งอาหาร จึงมีโอกาสสูญพันธุ์ได้มาก นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น  อันเป็นสาเหตุของความแห้งแล้งและยังทำให้มนุษย์ขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิตอีกด้วย

                  จากการสำรวจพื้นที่ป่าไม้ของโลกได้มีการคาดการณ์ของโลกว่าในอีก 30-50 ปีข้างหน้าป่าไม้ในเขตร้อนจะหมดไป ประชากรของโลก 1 ใน 3 จะขาดไม้ทำฟืน ส่วนป่าไม้ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะสูญไปด้วย มลพิษทางอากาศจะมีมากขึ้น พื้นที่การทำปศุสัตว์ในทวีปแอฟริกาและตะวันออกกลางก็กลายเป็นทะเลทราย

ในปัจจุบันพืชและสัตว์จะสูญพันธุ์ปีละประมาณ 36,500 ชนิด และหากสภาพความแห้งแล้ง การทำลายพื้นที่ลุ่มน้ำและแนวปะการังยังมีมากขึ้น ก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตอย่างน้อย 500,000-1,000,000  ชนิดสูญพันธุ์ภายใน 20 ปี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

         

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            4. สถานการณ์ที่เกี่ยวกับพลังงาน ในปัจจุบันโลกใช้พลังงานจากน้ำมันเป็นหลักแต่การใช้ปิโตรเลียมและพลังงานจากซากพืช ซากสัตว์ หรือถ่านหินได้สร้างมลพิษแก่สิ่งแวดล้อมจึงมีการหันไปพัฒนาพลังงานสะอาด ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังงานชีวภาพเพื่อนำมาใช้กันมากขึ้น

                  4.1 น้ำมัน น้ำมันเกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตใต้ดินใต้ทะเลสาบเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี ปริมาณน้ำมันในโลกยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนเนื่องจากบางแหล่งยังไม่ถูกสำรวจพบ แต่มีการประมาณว่าน้ำมันมีอยู่ในโลกประมาณ 600  พันล้านเมตริกตัน แหล่งน้ำมันส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชียในแถบภูมิภาคตะวันออกกลาง ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปแอฟริกา สหพันธรัฐรัสเซีย แระเทศจีน และบางประเทศในทวีปเอเชีย ประเทศออสเตรเลีย และทวีปยุโรปตามลำดับ

          ปริมาณน้ำมันสำรองกว่าครึ่งหนึ่งของโลก อยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลาง โดยประเทศสมาชิกกลุ่มโอเปก มีปริมาณสำรองรวมกันคิดเป็นร้อยละ 65 ของทั้งโลก ประเทศที่มีปริมาณสำรองน้ำมันมากที่สุดในโลก คือ ประเทศซาอุดีอาระเบีย รองลงไป ได้แก่ อิหร่าน อิรัก คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

            เมื่อต้นปี ค.ศ. 2007 ปริมาณน้ำมันสำรองที่พิสูจน์แล้วของน้ำมันโลกมีทั้งหมด 1,208 พันล้านบาร์เรล คาดว่าจะมีเหลือให้ใช้อัตราผลิตปัจจุบันได้อีกประมาณ 40 ปี มีการคาดการณ์กันว่าในช่วง 20 ปีข้างหน้า การผลิตและการใช้น้ำมันของโลกจะยังคงเพิ่มมากขึ้นในอัตราส่วนร้อยละ 1.4  ต่อปี โดยการผลิตน้ำมันของประเทศในกลุ่มโอเปกจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้น คือ จะมีสัดส่วนมากขึ้นเป็นประมาณครึ่งครึ่งของการผลิตทั้งหมด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                    4.2 แก๊สธรรมชาติ มีแหล่งกำเนิดเช่นเดียวกับน้ำมันแต่อยู่ในรูปของแก๊ส การนำไปใช้จึงส่งไปตามท่อ ทำให้ต้องมีการลงทุนสูง ในปัจจุบันมีการใช้แก๊สธรรมชาติเป็นพลังงานประมาณร้อยละ 36.5 ของพลังงานที่ใช้กันอยู่มนโลก โดยมีปริมาณสำรองในโลกประมาณ 73,000 ล้านเมตริกตัน โดนกระจายอยู่ในทั่วภูมีภาคต่างๆ

               สถานการณ์แก๊สธรรมชาติ เมื่อ ค.ศ. 2007  ปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้งของแก๊สธรรมชาติโลกมีทั้งหมด 181 ล้านลูกบาศก์เมตร คาดว่ามีเหลือให้ใช้ในอัตราการผลิตปัจจุบันได้อีกประมาณ 63 ปี การประเมินใน ค.ศ. 2000 ชี้ให้เห็นว่ายังมีปริมาณสำรองของแก๊สธรรมชาติที่มีโอกาสค้นพบเพิ่มเติมอีก 117 ล้านลูกบาศก์เมตร หรืออีกประมาณร้อยละ 65 ของปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วในปัจจุบัน หากสามารถค้นพบแก๊สธรรมชาติจำนวนนี้ได้จริงและมีความคุ้มค่าในการพัฒนาก็ทำให้โลกเหลือแก๊สธรรมชาติ ไว้ใช้ได้เพิ่มเติมขึ้นอีกประมาณ 40 ปีเป็นกว่า 100 ปี

 

                 4.3 พลังงานปรมาณู หรือ พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy) เป็นพลังงานความร้อนที่ถูกปล่อยมาจากการรวมตัวหรือการแตกตัวของอะตอมของธาตุยูเรเนียม 285 เป็นพลังงานที่มนุษย์เพิ่งรู้จักนำมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น เป็นต้น ได้นำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยพลังงามากกว่าเชื้อเพลิงอื่น และมีค่าใช้จ่ายในระยะยาวถูกกว่าในปัจจุบันมีการนำพลังงานปรมาณูมาใช้ในทางการแพทย์ การผลิตอาวุธสงคราม และการเกษตรแต่พลังงานปรมาณูยังมีข้อจำกัดในการใช้ เนื่องจากสารกัมมันตภาพรังสีจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย เป็นต้น ก็ยังคงมีปัญหาการรั่วไหลของสารกัมมันตภาพรังสีอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนั้นการใช้พลังงานปรมาณูต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและใช้ทุนมาก จึงยังเป็นข้อจำกัดของหลายประเทศแต่ในอนาคตเมื่อพลังงานฟอสซิลหมดลงก็จะมีการใช้พลังงานปรมาณูกันมากขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                  4.4 ถ่านหิน เป็นเชื้อเพลิงที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ใต้พื้นดินโดยถูก กดทับอัดเป็นถ่าย ซึ่งปัจจุบันใช้ถ่านหินเป็นพลังงานประมาณร้อยละ 27 ของพลังงานที่ใช้กันอยู่ในโลก ถ่านหินส่วนมากที่ใช้กันเป็นถ่านหินบิทูมินัส ถ่านหินสำรองที่มีอยู่ในโลกประมาณ 20,000 ล้านเมตริกตัน โดยกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                   4.5 พลังงานน้ำ ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า แต่เมื่อมีการใช้นำมัน แก๊สธรรมชาติและถ่านหินมากขึ้น จึงทำให้มีการใช้พลังงานน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าน้อยลง เขื่อนที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่สำคัญของโลก เช่น เขื่อนอิไทพุ กั้นแม่น้ำปารานาที่อยู่บริเวณพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลและปารากวัย เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                4.6 พลังงานความร้อนใต้พิภพ ความร้อนใต้พื้นโลกมีอุณหภูมิสูงถึง 4,400 องศาเซลเซียส โดยในบางแห่งความร้อนเหล่านี้จะก่อให้เกิดปรากฏการแผ่นดินไหวและน้ำพุร้อนในบางแห่งอาจเกิดไอความร้อนที่ถูกกักเก็บไว้ใต้พื้นโลกที่เรียกว่า พลังงานความร้อนใต้พิภพ ซึ่งสามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพประมาณร้อยละ 50 ของพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ใช้กันอยู่ในโลก นอกจากนั้นก็มี ประเทศฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์  อิตาลี เม็กซิโก ญี่ปุ่น และไอซ์แลนด์ ที่ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             

 

                  4.7 พลังงานลม พลังงานลมเกิดจากการที่ผิวได้รับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ไม่เท่ากัน ทำให้อุณหภูมิของอากาศแตกต่างกันและเกิดการเคลื่อนที่ของอากาศซึ่งก่อให้เกิดพลังงานลม โดยมนุษย์รู้จักใช้พลังงานลมในการเดินเรือ การสูบน้ำและกิจกรรมอื่นๆ มานานแล้ว ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ของสหรัฐอเมริกาใช้พลังงานลมผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 300 เมกะวัตต์ หรือประมาณร้อยละ 40 ของพลังงานลมที่ใช้อยู่ในโลก ส่วนประเทศอื่นๆ ที่ใช้พลังงานลม เช่นประเทศเยอรมนี เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

 

bottom of page